วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Case study กลุ่มที่ 4

1. ข้อเท็จจริง (Fact)
1.1 มีการตกลงเข้าหุ้นกันระหว่าง A และ B ทำธุรกิจส่งออกผ้าไหม (โดยไม่ได้จดทะเบียน)
- A และ B ตกลงว่าจะแบ่งกำไรคนละครึ่ง
- A ตกลงว่าจะแบ่งเงินเป็นกำไรให้ B ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 20000 บาท ถ้ากิจการขาดทุน
- ค่าเงินบาทการส่งสินค้าไปต่างประเทศลดลง รายได้จากกิจการตกต่ำ
- นาย A และ B บาดหมางกัน
1.2 มีการตกลงทำธุรกิจรับส่งสินค้าระหว่างนาย A และ C
- นาย A นำรถบรรทุกมาเป็นหุ้นส่วน
- นาย C เป็นผู้ออกแรงงาน
- นาย A และ C ตกลงแบ่งกำไรกันคนละครึ่ง แต่ไม่ได้ตกลงเรื่องการขาดทุน
- นาย C จ้างนาย D เป็นคนขับรถบรรทุก
- นาย D ขับรถบรรทุกชนนาย F ต้องเสียค่าใช้จ่าย 20000 บาท

2. Issue (ประเด็น)
1. นาย A จะขอเลิกกิจการ และชำระบัญชีกัน แต่นางสาว B ต่อสู้ว่า ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่สัญญาเข้าหุ้นส่วน นาย A จะบอกเลิกกิจการได้หรือไม่
2.นาย D ขับรถบรรทุกชนนาย F บาดเจ็บ นาย F จึงเรียกร้องให้นาย A และนาย C รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

3. Matter of law (ข้อกฎหมาย/ หลักกฎหมาย)
ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ตกลงนำหุ้นมาลงทุนในห้างไม่ว่าจะเป็นเงินหรือทรัพย์สินสิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้ โดยกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น และบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด (มาตรา ๑๐๑๒ , ๑๐๒๕, ๑๐๒๖)
มาตรา ๑๐๕๗ ถ้าเป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้
ศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันเสียได้ก็คือ
1. เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่ง นอกจากผู้ร้องฟ้องนั้น ล่วงละเมิดบทบังคับใดๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญ ซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน โดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแร
2. เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อี
3. เมื่อมีเหตุอื่นใดๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้

4. Analysis (วิเคราะห์)
กรณีที่ 1 A จะสามารถเลิกกิจการกับ B ได้เนื่องจากมีการตกลงแบ่งกำไรกัน ซึ่งตามกฎหมายระบุไว้ว่า หากมีการตกลงแบ่งกำไรกันแล้ว ถือว่า ทั้งสองเป็นหุ้นส่วนกัน ซึ่งสามารถขอเลิกกิจการได้
กรณีที่ 2 นาย F สามารถเรียกร้องให้นาย A และ C จ่ายค่าเสียหายได้ เนื่องจากนาย A และ C ได้ตกลงเป็นหุ้นส่วนกัน

5. Synopsis (สรุป)
ในการทำกิจการร่วมกันของนาย A และ B นั้นมีการร่วมหุ้นลงเป็นเงินทุนและแบ่งกำไรร่วมกัน ตามกฎหมายถือว่าทั้งคู่คือหุ้นส่วนกัน สามารถที่จะบอกเลิกหรือยกเลิกกิจการนั้นๆได้ โดยใช้หลักกฎหมายมาตรา ๑๔๕๗ ในการบอกยกเลิกการร่วมกิจการ

ส่วนกรณีที่ 2 นาย D ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ขับรถชนนาย F ที่เป็นบุคคลภายนอกได้รับบาดเจ็บ ซึ่งตามสัญญาหุ้นส่วนสามัญ คือ นาย A และนาย C จำเป็นต้องรับผิดชอบและชดใช้ค่าเสียอันเกิดแก่บุคคลภายนอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น