วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

"วิวัฒนาการของเครื่องคิดเลข"

เมื่อมนุษย์รู้จักการคิด รู้จักการนับ ก็เริ่มมีความพยายามหาวิธีการ ในการนับของตัวเอง โดยครั้งแรกก็ใช้นิ้วมือช่วยในการนับ เมื่อนิ้วมือเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอสำหรับการนับ ก็พยายามคิดหาอุปกรณ์อย่างอื่น มาแทน โดยเริ่มนับก้อนหิน ก้อนกรวด ปมเชือก เปลือกหอย

- ต่อมาความคิดของมนุษย์ก็มีพัฒนาการขึ้น รู้จักคิดในสิ่งที่ยากและซับซ้อนการนับมากและต่อเนื่องขึ้น เขาจึงหาวิธีที่จะทำการรวบรวมการนับของเขาไว้ด้วยกัน ก็หาวิธีใหม่โดยการใช้วิธีการจดบันทึกสิ่งของ แรกเริ่มโดยการขีดบนพื้นดิน ต่อมาก็ใช้บันทึกลงบนกระดาษ

- เมื่อมนุษย์ มีความต้องการด้านการคำนวณมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำมาช่วยในการนับและการคำนวณ และเมื่อประมาณ 2600 ปี ก่อนคริตศักราช มีชาวจีน ได้ประดิษฐ์เครื่องมือการนับ ซึ่งถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรก เรียกว่า ลูกคิด (Soroban or Abarcus) เพื่อใช้ในการคำนวณที่ค่อนข้างง่าย และลูกคิดยังเป็นเครื่องคิดเลขที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของลูกคิดนั้น ใช้วิธีการนับ ซึ่งเป็นพื้นฐานของ คอมพิวเตอร์ดิจิตอล (Digital Computer) แต่ลูกคิดยังมีข้อเสีย คือ ไม่สามารถบันทึกการคำนวณเอาไว้ตรวจสอบไม่ได้ มนุษย์จึงพยายามหาวิธีการผ่อนแรง ด้วยการสร้างเครื่องมือคำนวณ ชนิดต่างๆ ขึ้นต่อไป

- ในปี ค.ศ. 1617 : จอห์น เนปียร์ (John Napier) นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ ได้สร้างคิดอุปกรณ์ที่ช่วยในการคูณ การหาร หรือถอดกรณฑ์ให้ง่ายขึ้น เรียกอุปกรณ์ชนิดนี้ว่า
ตารางลอกการิทึม หรือ Napier's bone

- ในปีถัดมา : วิลเลียม ออกเกด (Willium Ougtred) นักคณิตศาสตร์ ชาวอังกฤษ ได้ผลิตไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rule) เพื่อช่วยในการคูณซึ่งนิยมใช้กันมากในงานด้านวิศวกรรมและงานด้านวิทยาศาสตร์

- ในปี ค.ศ. 1623 : เบล์ส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ ชาวผรั่งเศส ซึ่งได้ถูกขึ้นชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ว่าคือผู้คิดค้นและผู้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขเครื่องแรกของโลก ซึ่งก็คือเครื่องจักรกลที่สามารถบวกและลบได้ในรูปแบบของจำนวนเลขฐานสิบ โดยใช้ฟันเฟืองเป็นตัวทดกันได้ 8 ตัว วางขนานเป็นแนวนอน โดยตำแหน่งของวงล้อนี้จะมองเห็นจากภายนอก ส่วนตัวเลขจะไปปรากฎที่ฝาครอบวงล้อ แต่ละวงจะมีฟันเฟืองอยู่ 10 อัน ซึ่งแต่ละอันจะแทนเลข 1 หลักนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเฟืองหมุนครบ 10 ก็จะมาเริ่มต้นที่ 0 ใหม่ แล้วทำให้เฟืองที่อยู่ถัดไปหมุน 1 หลัก ซึ่งเป็นการทดเลขขึ้นไปนั่นเอง จากการทำงานของเครื่องบวกเลขนี้ เป็นหลักการเช่นเดียวกับการวัดระยะทาง ตามที่ปรากฏบนหน้าปัทม์รถยนต์ทั่วๆไป

- ในปี ค.ศ. 1646 : กอทฟริด วิลเฮลม ลิปนิซ (Gottfried Wilhelm Leibniz) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่สามารถคูณ หารและหารากที่สอง เรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า อาริทโมมิเตอร์ (Arithmometer Machine)

- จากนั้นหลายร้อยปี วิวัฒนาการก็เดินทางต่อมาเรื่อยๆ จนถึงยุคของวิลเลี่ยม สเวียด เบอร์ร็อคส์ (William Seward Burroughs) เขาได้ประดิษฐ์เครื่องมือในการคำนวณ ขึ้นมาเป็นครั้งแรก และยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในปี 1885 สำหรับ 'Calculating Machine' ซึ่งได้สิทธิบัตรในปี 1888 และได้สร้างระบบการคำนวณสำหรับธนาคารในยุคนั้นขึ้นมา

- ต่อมาหลังจากวิลเลี่ยมเสียชีวิตไปแล้วบริษัทของตระกูลเขาก็ยังคงพัฒนาระบบการคำนวณที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ

- การพัฒนาและการคิดค้นเครื่องมือคำนวณของคนเก่าแก่ในสมัยนั้นได้ทำให้หลายคน ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จนมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น

- และในช่วงปี 1970 หรือ 42 ปีมานี้เอง บริษัทที่ประดิษฐ์ก็คือบริษัทเทคโนโลยีชื่อก้องโลก อย่าง Texas Instruments, Incorporated (TI) สร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1966 โดยทีมงานอย่าง Jerry D. Merryman, James H. Van Tassel และ Jack St.Clair Kilby โดยทั้งหมดนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากจินตนาการและความคิดของคนสมัยก่อนมา ต่อยอดแทบทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น